new tags

‘ไม่ใช่แค่ Unesco’ 9 เรื่องราวสุดยิ่งใหญ่ของ”กรมสมเด็จพระเทพฯ” ที่ทั่วทั้งโลกให้การยอมรับ #ทรงพระเจริญ

24 มิถุนายน 2022 | Slide, ข่าวเด่น
Loading...

พระอัจฉริยภาพและพระจริยวัตรอันงดงามใน กรมสมเด็จพระเทพฯ เป็นที่ประจักษ์ชัดแก่ประชาชนชาวไทยมาช้านาน ทรงเป็นแบบอย่างดีเยี่ยมในทุกด้าน ทั้งความใฝ่รู้ใฝ่เรียน คุณธรรมจริยธรรม พระวิริยอุตสาหะในการทรงงาน ตลอดจนพระปณิธานแน่วแน่ในการช่วยแบ่งเบาพระราชภารกิจหนักอึ้งของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวร.9 และสมเด็จพระพันปีหลวง สมกับที่ทรงได้รับการยกย่องเป็น “เจ้าฟ้าหญิงแห่งปวงชนชาวไทย” ผู้เป็นที่รักยิ่งของคนไทยทั้งประเทศ ไม่เว้นแม้แต่ทั่วโลกยังให้การยอมรับจาก ๙ เรื่องราวดังต่อไปนี้

Loading...

1.จากราชอาณาจักรไทย

รางวัลพระเกี้ยวทองคำ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทูลเกล้าฯ ถวายรางวัล เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2531 เนื่องจากพระองค์ทรงมีผลงานที่มีส่วนส่งเสริมความรู้และความภูมิใจในภาษาไทยเป็นที่ประจักษ์แก่ประชาชนทั่วไปอย่างเด่นชัด และผลงานนั้น ๆ มีลักษณะก่อให้เกิดความสนใจ และสร้างทัศนคติที่ดีต่อภาษาประจำชาติ

2.จากราชอาณาจักรไทย

Loading...

รางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ คณะกรรมการบริหารสภาวิจัยแห่งชาติ ทูลเกล้าฯ ถวายรางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี พ.ศ. 2545 สาขาสหวิทยาการ แด่พระองค์ เมื่อวันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2545 ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต เพื่อเฉลิมพระเกียรติคุณในพระอัจฉริยภาพที่ทรงเป็นนักวิจัย โดยมีผลงานในทุกสาขาวิชาซึ่งเป็นประโยชน์ต่อวงการวิชาการของประเทศ

3.จากสาธารณรัฐฟิลิปปินส์

Loading...

รางวัลรามอน แมกไซไซ พระองค์ทรงได้รับการคัดเลือกจากมูลนิธิรางวัลรามอน แมกไซไซ ให้ได้รับการทูลเกล้าฯ ถวายรางวัลรามอล แมกไซไซ สาขาบริการสาธารณะ ประจำปี พ.ศ. 2534 โดยทรงเข้ารับการทูลเกล้าฯ ถวายรางวัล ณ ศูนย์วัฒนธรรมฟิลิปปินส์ ประเทศฟิลิปปินส์ เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2534

4.จากสาธารณรัฐอินเดีย

รางวัลอินทิรา คานธี เพื่อสันติภาพ การลดอาวุธ และการพัฒนา พระองค์ทรงได้รับการคัดเลือกให้ได้รับการทูลเกล้าฯ ถวายรางวัลอินทิรา คานธี ประจำปี 2547 จากพระราชกรณียกิจที่ทรงปฏิบัติเพื่อมวลมนุษยชาติ โดยทรงเข้ารับการทูลเกล้าฯ ถวายรางวัล ณ ประเทศอินเดีย เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2548 ซึ่งนับเป็นลำดับที่ 19 ของผู้ที่ได้รับรางวัลนี้

5.จาก สาธารณรัฐประชาชนจีน

รางวัลมิตรนานาชาติ 10 อันดับแรกของสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยพระองค์ทรงได้รับการคัดเลือกจากประชาชนชาวจีนให้เป็นมิตรนานาชาติ 10 อันดับแรกของประเทศจีน เนื่องจากพระองค์ทรงศึกษาภาษาจีนตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ ทรงทำวิจัยเกี่ยวกับประวัติศาสตร์จีนมาตลอด และเสด็จเยือนประเทศจีนแล้วมากกว่า 32 ครั้ง ในช่วง 28 ปีที่ผ่านมาทรงเข้ารับการทูลเกล้าฯ เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2552 ณ ประเทศจีน ในโอกาสนี้ รัฐบาลไทย โดยนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ในนามคณะรัฐมนตรี ข้าราชการ และพสกนิกรชาวไทยทุกหมู่เหล่า ได้เป็นเจ้าภาพจัดงานสโมสรสันนิบาตและงานถวายพระกระยาหารค่ำเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงได้รับการทูลเกล้าฯ ถวายรางวัลการจัดกิจกรรม มิตรนานาชาติสิบอันดับแรกของสาธารณรัฐประชาชนจีนในรอบ 100 ปี ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล เมื่อวันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2553

6.อุปนายิกาผู้อำนวยการสภากาชาดไทย โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระราชดำริว่า สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเป็นผู้ที่เหมาะสมและไว้วางพระราชหฤทัย จึงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ทรงดำรงตำแหน่งอุปนายิกาผู้อำนวยการสภากาชาดไทย ตั้งแต่วันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2520

7.ทูตพิเศษของโครงการอาหารโลก ด้านอาหารโรงเรียน (WFP’s Special Ambassador for School Feeding) พระองค์ทรงได้รับการทูลเกล้าฯ ถวายตำแหน่งทูตพิเศษของโครงการอาหารโลก (World food programme) แห่งสหประชาชาติ เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2547

8.ทูตสันถวไมตรีแห่งองค์การศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ ด้านการส่งเสริมศักยภาพของเด็กชนกลุ่มน้อย ด้วยการศึกษาและอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรม (UNESCO Goodwill Ambassador for the Empowerment of Minority Children and the Preservation of their Intangible Cultural Heritage) องค์การศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือ ยูเนสโก แต่งตั้งให้พระองค์ทรงดำรงตำแหน่งนี้ โดยนายโคอิชิโร มัตสึอูระ ผู้อำนวยการใหญ่ยูเนสโก พร้อมด้วยผู้บริหารยูเนสโก เข้าเฝ้าฯ ทูลเกล้าฯ ถวายใบประกาศนียบัตรและใบประกาศแต่งตั้ง เมื่อวันที่ 24 มีนาคมพ.ศ. 2548 ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต

9.วุฒิสภากิตติมศักดิ์ ของมูลนิธิการประชุมผู้ได้รับรางวัลโนเบล (Honorary Senate of the Foundation Lindau Nobel Prize Winners Meetings) เนื่องจากพระองค์ทรงทำคุณประโยชน์อย่างเด่นชัดในการประชุมที่ลินเดา และแก่มูลนิธิ ทรงเสียสละและทุ่มเทให้กับงานทางด้านวิทยาศาสตร์ สนับสนุนการศึกษาวิทยาศาสตร์ เชื่อมโยงวิทยาศาสตร์และทำให้เกิดการบูรณาการ เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2553

Cr.wikipdia

Loading...