new tags
เชื่อว่าพสกนิกรชาวไทยอาจยังไม่เคยรู้ก่อนสำหรับการสถาปนาขึ้นเป็นเจ้าในพระราชวงศ์ มีเจ้านายหลายพระองค์ที่ประสูติเป็นสามัญชนนอกพระราชวงศ์จักรี แต่ได้รับพระราชทานการสถาปนาให้เป็นเจ้าในพระราชวงศ์ ทั้ง ๑๐ รัชกาล ดังนี้
พระนาม : กรมขุนสุนทรภูเบศร์
เป็นเศรษฐีชาวเมืองบางปลาสร้อย (ชลบุรี) ที่เคยถวายการอุปการะสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีเมื่อครั้งยกทัพไปตีเมืองจันทบุรี ภายหลังพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาขึ้นเป็นเจ้านาย ด้วยเกี่ยวข้องกับราชวงศ์จักรีจากการเป็นภราดาร่วมสาบานกับสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท
พระนามเดิม : หม่อมเรือง สุนทรกุล ณ ชลบุรี
ความสัมพันธ์ : พระอนุชาร่วมสาบานในสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท
พระนาม : กรมหมื่นนรินทรพิทักษ์
เป็นบุตรของเจ้าพระยามหาเสนาบดี (ผล) มีน้องชายคือเจ้าพระยาอภัยราชา (ปิ่น) ซึ่งเป็นบิดาของเจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) หลังจากที่มุกเสกสมรสกับพระเจ้าน้องนางเธอ พระองค์เจ้ากุ จึงได้ถูกเรียกว่าหม่อมมุก เพราะเป็นชายผู้ดี ต่อมาได้รับโปรดเกล้าฯ ให้เป็น กรมหมื่นนรินทรพิทักษ์
พระนามเดิม : หม่อมมุก นรินทรกุล ณ อยุธยา
ความสัมพันธ์ : พระสวามีในพระเจ้าน้องนางเธอ กรมหลวงนรินทรเทวี
พระนาม : พระองค์เจ้าขุนเณร
ทรงเป็นเจ้านายนอกพระราชวงศ์จักรี เพราะพระชาติประสูติของพระองค์นั้นเกิดกับหญิงสามัญ ซึ่งเป็นอนุภริยาในพระอินทรรักษา โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาขึ้นเป็นเจ้านายในพระราชวงศ์จักรี โดยเป็นพระโอรสบุญธรรมใน สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ กรมพระยาเทพสุดาวดี
พระนามเดิม : –
ความสัมพันธ์ : พระโอรสบุญธรรมในสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ กรมพระยาเทพสุดาวดี
พระนาม : กรมสมเด็จพระอมรินทรามาตย์ หรือสมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี
ทรงมีพระชาติกำเนิดเดิมเป็นสามัญชน ทรงอภิเษกสมรสกับพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ตั้งแต่ยังทรงเป็นหลวงยกระบัตรเมืองราชบุรี ซึ่งภายหลังได้รับการสถาปนาเป็นสมเด็จพระรูปศิริโสภาคมหานาคนารี เป็นคหบดีเชื้อสายมอญ มีพระพี่น้องร่วมบิดามารดา รวม 10 พระองค์
พระนามเดิม : ท่านผู้หญิงนาก
ความสัมพันธ์ : สมเด็จพระบรมราชชนนีในรัชกาล
พระนาม : กรมสมเด็จพระศรีสุลาไลย
เป็นธิดาเพียงคนเดียวของพระยานนทบุรีศรีมหาอุทยาน (บุญจัน) กับคุณหญิงเพ็ง นนทบุรีศรีมหาอุทยาน มีนิวาสถานเดิมอยู่ที่เมืองนนทบุรีด้วยพระชนกเป็นผู้ว่าราชการเมืองดังกล่าว เมื่อพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ ในวันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2367 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาสมเด็จพระพันปีหลวงเป็น กรมพระศรีสุลาลัย
พระนามเดิม : เจ้าจอมมารดาเรียม ในรัชกาลที่ 2
ความสัมพันธ์ : สมเด็จพระบรมราชชนนีในรัชกาล
พระนาม : สมเด็จพระรูปศิริโสภาคย์มหานาคนารี
เป็นธิดาของท่านตาเจ้าพลอยและท่านยายเจ้าถี ทรงมีพระเชษฐา 1 องค์ พระเชษฐภคินี 2 องค์ ท่านยายเจ้าถีเป็นธิดาท่านตาเจ้าแสน มีพี่สาวคือ ท่ายยายเมือง ซึ่งเป็นยายของเจ้าพระยาราชบุรี (เสม วงศาโรจน์) ขณะที่ยังเป็นสามัญชนนั้นพระองค์ได้สมรสกับทองบุตรท่านตาเจ้าพร และท่านยายเจ้าชี และเป็นหลานของท่านตาเจ้าปะขาวพลาย พี่น้องร่วมบิดามารดาของท่านตาเจ้าแสน ทั้งสองมีบุตร-ธิดาด้วยกัน 10 คน ต่อมาในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ทรงได้สถาปนาพระอัฐิเป็น “สมเด็จพระรูปศิริโสภาคย์มหานาคนารี”
พระนามเดิม : สั้น ณ บางช้าง
ความสัมพันธ์ : สมเด็จพระราชชนนีในสมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี ในรัชกาลที่ 1
พระนาม : เจ้าดารารัศมี พระราชชายา
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาพระอิสริยยศ “เจ้าจอมมารดาดารารัศมี” ขึ้นเป็นเจ้านายในราชวงศ์จักรี มีตำแหน่งเป็นพระมเหสีพระองค์หนึ่งออกพระนามว่า “เจ้าดารารัศมี พระราชชายา” นับเป็นพระอิสริยยศในตำแหน่งพระมเหสีเทวีที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน จึงนับได้ว่า “เจ้าดารารัศมี พระราชชายา” เป็นพระมเหสีลำดับที่ 5 ในเวลานั้น
พระนามเดิม : เจ้าจอมมารดาดารารัศมี ในรัชกาลที่ 5
ความสัมพันธ์ : พระมเหสี
พระนาม : สมเด็จพระปิยมาวดี ศรีพัชรินทรมาตา
เจ้าจอมมารดาเปี่ยม ได้รับการสถาปนาเป็น เจ้าคุณจอมมารดาเปี่ยม เจ้าคุณพระอัยยิกาเปี่ยม และหลังการอสัญกรรมได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นเจ้า ทรงพระนามว่า สมเด็จพระปิยมาวดี ศรีพัชรินทรมาตา โดยสร้อยพระนาม “ศรีพัชรินทรมาตา” มีความหมายว่า เป็นพระมารดาของสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
พระนามเดิม : เจ้าคุณจอมมารดาเปี่ยม ในรัชกาลที่ 4
ความสัมพันธ์ : พระอัยยิกาฝ่ายพระมารดาในรัชกาล
พระนาม : พระวรราชชายาเธอ พระอินทรศักดิศจี
เข้ารับราชการฝ่ายในในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น พระอินทราณี ต่อมาพระอินทราณีตั้งครรภ์ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯสถาปนาพระอินทราณี ขึ้นดำรงพระยศเจ้านายตำแหน่งพระมเหสีที่ พระวรราชชายาเธอ พระอินทรศักดิศจี ทรงได้รับการสถาปนาพระราชอิสริยยศสูงสุดที่ สมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิศจี พระบรมราชินี ภายหลังด้วยเกิดเหตุหลายประการเกี่ยวข้องกับสมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิศจี พระบรมราชินี อันมีเรื่องการตกพระครรภ์หลายครั้ง เป็นเหตุผลประการหนึ่ง พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการให้ออกพระนามว่า สมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิศจี พระวรราชชายา แทน
พระนามเดิม : พระอินทรานี (ประไพ สุจริตกุล)
ความสัมพันธ์ : พระมเหสี
พระนาม : พระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี
เป็นพระวรราชเทวีในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นธิดาของพระยาอภัยภูเบศร (เลื่อม อภัยวงศ์) กับเล็ก บุนนาค ต่อมาได้รับพระราชทานนามจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวว่า สุวัทนา ได้เข้ารับราชการฝ่ายใน ในตำแหน่ง “เจ้าจอมสุวัทนา” และได้รับการสถาปนาเป็น “พระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี” ตามลำดับ
พระนามเดิม : เจ้าจอมสุวัทนา ในรัชกาลที่ 6
ความสัมพันธ์ : พระมเหสี
พระนาม : สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี (สมเด็จย่าฯ)
เป็นหม่อมในสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก เป็นพระราชชนนีในพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร และพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และเป็นพระอัยยิกาฝ่ายพระชนกในพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงมีเชื้อสายชาวเวียงจันทน์ เนื่องจากทางครอบครัวนิยมรับประทานข้าวเหนียว
พระนามเดิม : หม่อมสังวาลย์ มหิดล ณ อยุธยา
ความสัมพันธ์ : พระราชชนนีในรัชกาล
พระนาม : สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
เป็นสมเด็จพระบรมราชินีนาถในพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เป็นสมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวงในพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว และโดยพระชนมพรรษาจึงนับเป็นพระกุลเชษฐ์พระองค์ปัจจุบันในพระบรมราชจักรีวงศ์ เนื่องจากพระองค์ เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ขณะที่พระราชสวามีเสด็จออกผนวช ระหว่างวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2499 – 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2499 พระองค์จึงได้รับการสถาปนาขึ้นเป็น สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
พระนามเดิม : หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร
ความสัมพันธ์ : สมเด็จพระราชินีในรัชกาล
พระนาม : พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรชายาฯ
เป็นอดีตพระวรชายาในพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมารทเป็นธิดาพระองค์ใหญ่ของหม่อมราชวงศ์อดุลกิติ์ กิติยากร กับท่านผู้หญิงพันธุ์สวลี กิติยากร
อภิเษกสมรสกับพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งขณะนั้นดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร พระองค์มีพระอิสริยยศเป็น พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรชายาฯ ถือเป็นเจ้านายพระองค์แรกที่ดำรงพระอิสริยยศเป็นพระวรชายา
ภายหลังการหย่าในปี พ.ศ. 2534 พระองค์ยังมีสถานะเป็นเจ้านายและได้รับการเฉลิมพระนามว่า พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ ต่อมาเมื่อพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติและทรงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พ.ศ. 2562 พระองค์ได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นพระองค์เจ้าต่างกรมฝ่ายใน ตามที่จารึกในพระสุพรรณบัฏว่า พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ
พระนามเดิม : หม่อมหลวงโสมสวลี กิติยากร
ความสัมพันธ์ : อดีตพระวรชายาในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร
พระนาม : สมเด็จพระราชินีสุทิดา
เดิมทรงเป็นพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน ต่อมาทรงเข้ารับราชการทหารในหน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ ทรงดำรงตำแหน่งสูงสุดเป็นรองผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ (อัตรา พลเอกพิเศษ) นอกจากนี้ยังทรงดำรงตำแหน่งเป็นราชองครักษ์เวรในพระองค์และพระบรมวงศานุวงศ์หลายพระองค์
วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 ทรงประกอบพระราชพิธีราชาภิเษกสมรสกับพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต จึงทรงได้รับการสถาปนาเป็น สมเด็จพระราชินีสุทิดา ทรงดำรงตำแหน่งพระอิสริยยศ ฐานันดรศักดิ์แห่งพระราชวงศ์ ในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ สถาปนาเฉลิมพระเกียรติยศสมเด็จพระราชินีขึ้นเป็นสมเด็จพระบรมราชินี ทรงพระนามว่า สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี
พระนามเดิม : สุทิดา วชิราลงกรณ์ ณ อยุธยา
ความสัมพันธ์ : สมเด็จพระราชินีในรัชกาล